We want to introduce a Thai woman, Ms. Umaree Bybee, who came to America and became a NURSE.

Is there anything you could tell me about your life as a child growing up in Thailand?

I was born into a middle-class family. My father was a vice governor, and my mother was an elementary school teacher. We had to relocate often due to my father’s job. I have a sister who is four years older than me. Moving often caused my sister and me to learn different cultures from different parts of the country. We moved around until I started high school. I have vivid memories of going with my father to work in rural areas. I liked to taste local food and listen to my father talk to many people. I also appreciate my growing-up time with my mother. My mother cooked for our family daily, and I learned to help her when I was young.

What brought you to America?

I came to the States in 2000 when I was 23 years old. I first came to pursue a master’s degree in information management. I met my husband while I was in school in 2001. We got married a year after I graduated.

Your collegiate and professional story

Nursing was not my first field of study. I studied in a computer engineering program when I was an undergraduate student in Thailand. After finishing my master’s degree in information management program, I changed my mind and decided to transfer to the healthcare field. The nursing program was my first choice. At that time, the demand for nursing was high. I received my associate degree in nursing with honors in 2007. My field of specialty is acute care, and my main duties were in hospital settings, including cardiac care, intermediate care, and intensive care units. While working, I took courses, received my bachelor’s degree in nursing program, and obtained my professional license in 2011. After working in intensive care units for several years, I was searching for something beyond bedside care. I like to educate my patients and encourage patients’ families to take care of them. Therefore, in 2013, I decided to advance my studies to become a nurse practitioner. Since 2015, I have been working as a hospitalist nurse practitioner, with most of my work caring for patients in the hospital. Throughout the years, I have been working as a hospitalist nurse practitioner, and many specialists asked me to join their teams, such as neurologists, cardiologists, gastroenterologists, and urologists. I thought it was not the right time and was enjoying my hospital medicine. However, in 2022, I was asked by a special group of cardiologists to be a part of their team, and I decided to join them. Currently, I am in two roles, working as a hospitalist nurse practitioner as well as a cardiology nurse practitioner.

Is there anything you would like to recommend to Thai people who want to become nurses in America?

In my opinion, nursing seems to be a field of study that people are interested in when they come to the States. Although you can study in a nursing program, this field is not easy. I remember when I was a nursing student, I had to study until 2 a.m. and wake up at 5 a.m. for class. Native speakers may have taken a shorter time, but a foreign student like me had to put in a lot more effort. I would like to see many Thais become nurses in the US.  I suggest you gain as much information as you can before applying to a nursing program. You can see daily nursing life or talk to Thai nurses in the US who have gone through nursing school here in different regions of the country. There are many Thai nursing student and nurse support groups online that are very beneficial and informative. Look for “Thai Student Nurse Association USA (TSNAUS) สมาคมนักเรียนพยาบาลไทยในอเมริกา” on Facebook. 

Your philosophy for life and advice for other Thai people coming to America

I believe in hard work, a willingness to learn, and learning from mistakes. First of all, many Americans see Asians as hard workers. We work hard and work efficiently. You win half of your battle if you just work hard. Secondly, there is the willingness to learn. Part of growing is always learning and improving yourself; therefore, we must be willing to learn things. It is okay to not know everything. When I work with physicians many times, I cannot answer their questions. But I always tell those physicians that I will search for the answer, and I will learn. Lastly, learn from your mistakes. We are all humans and have flaws. We always make mistakes, but the most important thing is that we don’t make the same mistake twice.

I sincerely hope that this article will be useful and an inspiration to all readers in order to lead them further down the path of success. Hard work is always worth your time. But everything should be based on the balance of life and should not be overdone. Learning from mistakes is a great path to success. Don’t be afraid of mistakes.

Authored by Suwat Saengkerdsub

คุณรี พยาบาลผู้ประสบความสำเร็จ

ซึ่งเป็นทั้งพยาบาลเวชปฏิบัติ และพยาบาลเวชปฏิบัติเฉพาะทางโรคหัวใจ

ทางนิตยสารสวัสดียูเอสเอต้องการแนะนำคุณให้รู้จักกับงานและอาชีพที่คุณสามารถทำได้ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา อย่าคิดว่าอาชีพเดียวที่คุณสามารถทำได้ในอเมริกาคืองานในร้านอาหารไทย ไม่มีใครจำกัดความสามารถของคุณได้นอกจากตัวคุณเอง ทางนิตยสารสวัสดียูเอสเอฉบับแรกอยากแนะนำให้คุณรู้จักกับผู้หญิงไทย 2 ท่าน ท่านแรกที่มาอเมริกาและต่อมาได้ทำงานเป็นนางพยาบาล คือ คุณรี และ ท่านที่สอง คือ คุณเกล ที่มาอเมริกาและต่อมาได้ทำงานเป็นผู้ตรวจสอบประวัติ ประชาชนสัญชาติอเมริกัน ก่อนที่จะสามารถไปสมัครงานกับทางหน่วยงานต่าง ๆ ของราชการได้

คุณมีอะไรบอกกับทางนิตยสารสวัสดียูเอสเอเกี่ยวกับชีวิตในวัยเด็กของคุณที่เติบโตในประเทศไทยไหมค่ะ

ดิฉันเติบโตมาในครอบครัวชนชั้นกลางค่ะ คุณพ่อของดิฉันเป็นรองผู้ว่าราชการจังหวัด และคุณแม่ของดิฉันเป็นคุณครูสอนชั้นประถมศึกษาค่ะ พวกเรามีความจำเป็นต้องย้ายที่อยู่บ่อยๆ เนื่องจากหน้าที่การงานของคุณพ่อค่ะ ดิฉันมีพี่สาว 1 คนซึ่งมีอายุมากกว่าดิฉัน 4 ปี การที่ดิฉันต้องย้ายบ้านบ่อยๆ ทำให้พี่สาวและดิฉันได้เรียนรู้วัฒนธรรมที่แตกต่างกันตามแต่ละภาคของประเทศไทยค่ะ การย้ายที่อยู่ของดิฉันได้สิ้นสุดลง เมื่อดิฉันเข้าเรียนในระดับมัธยมค่ะ ดิฉันมีความทรงจำที่สดใสตอนตามคุณพ่อไปทำงานในชนบท ดิฉันชอบที่จะชิมอาหารพื้นบ้านและฟังพ่อพูดคุยกับชาวบ้าน ดิฉันยังรู้สึกประทับใจช่วงเวลาที่เติบโตมากับคุณแม่ คุณแม่ของดิฉันทำอาหารให้พวกเราทานทุกวัน และดิฉันเรียนรู้ที่จะช่วยคุณแม่ทำอาหารตั้งแต่ดิฉันยังเด็ก

อะไรทำให้คุณมาที่อเมริกา

ดิฉันเดินทางมาที่อเมริกาในปี พ.ศ. 2543 ตอนนั้นดิฉันมีอายุได้ประมาณ 23 ปีค่ะ ตอนแรกดิฉันเดินทางมาเรียนต่อในระดับปริญญาโทสาขาการจัดการสารสนเทศที่นี่ค่ะ และปีถัดมา ปี พ.ศ. 2544 ดิฉันได้พบกับสามีในขณะที่กำลังเรียนอยู่ พวกเราก็แต่งงานกันหลังจากที่ดิฉันเรียนจบได้ 1 ปี

ขอทราบเรื่องราวระหว่างเรียนรวมไปถึงประสบการณ์ในระหว่างการเป็นพยาบาลของคุณได้ไหมค่ะ

จริงๆ แล้วสาขาพยาบาลไม่ใช่สาขาแรกที่ดิฉันลงเรียนนะค่ะ ดิฉันเรียนสาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์เมื่อดิฉันเรียนระดับปริญญาตรีในประเทศไทย หลังจากจบปริญญาโทด้านสาขาการจัดการสารสนเทศ ดิฉันเปลี่ยนใจและตัดสินใจโอนสายอาชีพไปทางด้านการดูแลสุขภาพ สาขาพยาบาลเป็นตัวเลือกแรกของฉัน ณ เวลานั้น ความต้องการพยาบาลมีเป็นจำนวนมาก และดิฉันก็สำเร็จการศึกษา ได้รับอนุปริญญาทางด้านการพยาบาลพร้อมเกียรตินิยมในปี พ.ศ. 2550 วิชาเฉพาะทางที่ดิฉันจบมาก็คือสาขาการดูแลผู้ป่วยฉุกเฉิน ซึ่งหน้าที่หลักๆ ในโรงพยาบาลคือการดูแลผู้ป่วยโรคหัวใจ ดูแลผู้ป่วยในระยะกลาง และดูแลผู้ป่วยในระยะวิกฤติค่ะ ซึ่งในขณะที่ดิฉันทำงาน ดิฉันก็ได้กลับไปเรียนต่อในระดับปริญญาตรี และจบสาขาพยาบาลในปี พ.ศ. 2554 พร้อมใบประกอบวิชาชีพ หลังจากที่ทำงานในแผนกผู้ป่วยในระยะวิกฤติเป็นเวลาหลายปี ดิฉันก็มีความคิดที่อยากจะทำงานที่นอกเหนือเพียงแค่การดูแลผู้ป่วยที่ข้างเตียง ดิฉันชอบที่จะให้ความรู้แก่ผู้ป่วยและสนับสนุนให้ครอบครัวของผู้ป่วยช่วยดูแลผู้ป่วย ดังนั้นในปี พ.ศ.2556 ดิฉันจึงตัดสินใจเข้าเรียนต่อทางด้านการพยาบาลเฉพาะทางเพิ่มเติมเพื่อที่จะสามารถทำงานในตำแหน่ง พยาบาลเวชปฏิบัติได้ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2558 ดิฉันก็ได้ทำงานในตำแหน่งพยาบาลเวชปฏิบัติ โดยหน้าที่ส่วนใหญ่จะเป็นดูแลผู้ป่วยในโรงพยาบาลค่ะ ตลอดหลายปีที่ผ่านมาดิฉันได้ทำงานเป็นพยาบาลเวชปฏิบัติในโรงพยาบาลนั้นมีทีมแพทย์ผู้ชี่ยวชาญจากแผนกต่างๆ ได้ชักชวนดิฉันเข้าร่วมทำงานด้วย เช่น แพทย์ทางด้านระบบประสาท แพทย์เฉพาะทางโรคหัวใจ แพทย์ระบบทางเดินอาหาร และแพทย์ระบบทางเดินปัสสาวะ แต่ตอนนั้นดิฉันคิดว่ามันยังไม่ถึงเวลา และดิฉันก็ยังสนุกกับการดูแลผู้ป่วยในแผนกอายุรกรรมอยู่ จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2565 ดิฉันได้รับการชักชวนอีกครั้งจากทีมแพทย์เฉพาะทางโรคหัวใจ พวกเขาต้องการให้ดิฉันมาเป็นส่วนหนึ่งในทีมของพวกเขา และครั้งนี้ดิฉันตอบตกลงเข้าร่วมทีม ปัจจุบัน ดิฉันดำรงหน้าที่ใน 2 ตำแหน่ง ทั้ง ตำแหน่งพยาบาลเวชปฏิบัติ และพยาบาลเวชปฏิบัติเฉพาะทางโรคหัวใจค่ะ

คุณมีอะไรอยากจะแนะนำให้ท่านอื่นๆที่ต้องการมาทำงานเป็นพยาบาลที่อเมริกาไหมค่ะ

ในความคิดของดิฉันนะคะ สาขาพยาบาลถือเป็นสาขาที่ได้รับความนิยมมากสำหรับคนที่ย้ายมาอยู่ที่อเมริกา ถึงแม้คุณจะเรียนหลักสูตรพยาบาลได้ แต่สาขานี้ไม่ง่ายนะคะ ดิฉันจำได้ว่าตอนเป็นนักศึกษาพยาบาลต้องอ่านหนังสือถึงตี 2 และตื่นตี 5 เพื่อไปเข้าชั้นเรียน สำหรับคนอเมริกันอาจใช้เวลาที่สั้นกว่าในการเข้าใจบทเรียน แต่ไม่เหมือนนักเรียนต่างชาติอย่างดิฉัน ดิฉันต้องใช้ความพยายามอย่างมากเพื่อให้เข้าใจบทเรียน ดิฉันชอบที่จะเห็นคนไทยจำนวนมากมาเป็นพยาบาลในสหรัฐอเมริกา แต่คุณสามารถค้นหาข้อมูลก่อนสมัครเรียนหลักสูตรพยาบาล คุณสามารถดูชีวิตประจำวันของพยาบาลหรือพูดคุยกับพยาบาลไทยในสหรัฐอเมริกาที่เคยเรียนหลักสูตรพยาบาลในภูมิภาคต่างๆ ของประเทศสหรัฐอเมริกา มีกลุ่มสนับสนุนนักศึกษาพยาบาลไทย/พยาบาลออนไลน์ที่เป็นประโยชน์และสามารถให้ข้อมูลแก่คุณมากมาย เช่น “สมาคมนักเรียนพยาบาลไทยในอเมริกา” (Thai Student Nurse Association USA, TSNAUS) บนเฟสบุ๊ค

คุณมีปรัชญาที่ใช้ในการดำเนินชีวิตเป็นประจำไหมค่ะ หรือมีอะไรอยากแนะนำท่านที่อยากจะเดินทางมาที่อเมริกาไหมค่ะ

ดิฉันเชื่อในผลของการทำงานหนัก มีความกระหายในการเรียนรู้ และเรียนรู้จากข้อผิดพลาดค่ะ อย่างแรกเลยก็คือ ชาวอเมริกันส่วนมาก มักจะมองว่าชาวเอเชียเป็นคนที่ทำงานหนัก ซึ่งพวกเราก็ทำงานกันหนักจริงๆ และมีประสิทธิภาพด้วย ถ้าคุณทำงานหนักก็เหมือนกับว่าคุณได้รับชัยชนะไปครึ่งหนึ่งแล้วค่ะ และอย่างที่สอง คือความกระหายในการเรียนรู้ ส่วนหนึ่งของการเติบโตคือการเรียนรู้และพัฒนาตนเองให้ก้าวไปข้างหน้าอยู่เสมอค่ะ เพราะฉะนั้นเราต้องมีความเต็มใจที่จะเรียนรู้ในสิ่งต่างๆ เป็นปกติที่เราจะไม่รู้ทุกเรื่องมาก่อน หลายๆ ครั้งตอนที่ดิฉันทำงานกับคุณหมอ ดิฉันก็ไม่สามารถตอบคำถามของพวกคุณหมอได้ แต่ดิฉันจะบอกกับพวกคุณหมอเสมอว่า ดิฉันขอเวลาไปค้นคว้าหาคำตอบก่อน และยินดีมากที่จะเรียนรู้เพิ่มเติมจากพวกคุณหมอ อย่างสุดท้าย คือการเรียนรู้จากความผิดพลาดของคุณเอง พวกเราทุกคนเป็นมนุษย์ค่ะ ล้วนมีข้อบกพร่องไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง และเราทุกคนก็สามารถทำผิดพลาดกันได้ แต่สิ่งที่สำคัญคือ เราต้องไม่ทำผิดพลาดในเรื่องเดิมๆเป็นครั้งที่สองค่ะ

ดิฉันหวังเป็นอย่างยิ่งว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์และเป็นแรงบันดาลใจให้กับท่านผู้อ่านทุกท่าน เพื่อนำไปต่อยอดสู่หนทางแห่งความสำเร็จนะคะ การทำงานหนักนั้น ให้ผลที่คุ้มค่ากับการทุ่มเทเวลาของคุณเสมอค่ะ แต่ทุกอย่างก็ควรตั้งอยู่บนความสมดุลของชีวิตและไม่ควรจะหักโหมจนมากเกินไป การเรียนรู้จากความผิดพลาดคือเส้นทางสู่ความสำเร็จอันยิ่งใหญ่ค่ะ อย่าไปกลัวที่จะต้องเจอกับความผิดพลาด

ผู้เขียนโดย สุวัฒน์ แสงเกิดทรัพย์

Prev
Ms. Galye, Senior Background Investigator

Ms. Galye, Senior Background Investigator

Have a big dream and go for it!

Next
Architecture Best Practices for Conversational AI

Architecture Best Practices for Conversational AI

Many designers started to use AI-generated images as a resource for inspiration