Dr. Jack Paduntin
11th President of Oaks College Pasadena, California
An advocate for Thais and other minorities to use education to equalize opportunity.
Today, SawasdeeUSA would like to introduce Dr. Jack Paduntin, 11th President of Pacific Oaks College, an 80-year-old college founded on the principle of anti-bias education.
Dr. Paduntin is a Thai educator whose background and passion have positioned him to make an impact in US higher education.
“We need to promote the success stories of Thais so that the world knows more about us as we pave the way for younger generations.”
Growing up and life before moving to the US
I grew up in Bangkok and had a relatively ordinary childhood. My father worked for the government. He was a regional director overseeing large staff for the Provincial Water Supply Authority and had to move to different cities several times during his career. I moved with him to a few places when I was young. I learned different dialects and can still speak them today. My I-san (north-eastern Thai) was good, although I lived in Ubon for only a year. My mother had the most difficult full-time job taking care of my siblings and me. She laid the foundation for a strong family education for us.
While learning different Thai dialects was much fun for me growing up, I hated English. I don’t know if it had anything to do with moving schools often and learning the language from multiple teachers with different styles and knowledge. Unfortunately, there were no Internet sources to compare what was right or wrong at that time. Several contradictions might have caused me to be confused and later lose my confidence to acquire the language. I began to reject English. Sadly, it had cost me several opportunities to advance my education the way I hoped to. I could not get into an architecture program at the college I wanted and decided to redeem myself at an open university, Ramkhamhang University. I was determined to prove myself, and I completed my degree with honors in less than three years.
Struggles as a student from Thailand
Proving myself with an honors degree in finance was not enough. I wanted to master English, my number-one fear. That is my simple reason for coming to the US. I struggled very severely before and during graduate school. I clearly remember going to a class where everyone turned in their homework assignment, and I had no idea there was an assignment from last week. Despite graduating with distinction from Thailand, I could not articulate simple concepts such as demand & supply to the class. Struggling might be an understatement. It was more like humiliation. It took me about eight months of hard work to overcome that, with more humiliating stories along the way, of course. I earned my MBA with a specialization in international management from the University of Dallas (UD) in 1994 and returned to Bangkok for a few years.
A degree from the US and my career in Thailand
Having an MBA from the US, I was ready and wanted to seize every career opportunity I encountered in Thailand. At one point, I held seven jobs concurrently. That was not common for my generation, then. I had my full-time job working on a few international joint-venture projects. My part-time job included teaching at a few local universities, translating and doing voice-overs for infomercial videos from the US, reading commercial radio spots, translating books for McGraw Hill, and running a small restaurant with my Korean wife, who was in love with the Thai papaya salad. As someone who hated and failed English, I translated English books and infomercial videos. It was a busy two years before I decided to come back to the US to pursue my doctorate.
While teaching in Bangkok, I studied several strategic management theories and learned about Dr. Igor Ansoff, the father of strategic management. I was fascinated by his theories and school of thought. I followed him for a while before joining the program in 1997 at a small university in San Diego called United States International University. It was the best decision I could make.
Returning to the US for more education & unforeseen challenges
I remember vividly that the 1997 Asian financial crisis happened while I was en route from Bangkok to San Diego. I discovered that the Thai Baht devalued by nearly half overnight as soon as I landed in the US. I had two choices: to return home or to stick it out and hope for the best. I picked the latter. Luckily enough, the US government allowed students from several Asian countries to work more hours on campus. During the most difficult time, I had several part-time jobs to sustain myself and my family. Working at the school cafeteria was not as glamorous compared to all my high-profile jobs in Thailand. One job led to another; I secured a full-time position at the university within the first year. This job came with the benefit that I wanted most: tuition-free education. I was grateful for all these small jobs and gave them my all. From a student advisor to a program director, I continued to climb the career ladder in higher education. Schooling was then secondary; I enjoyed working and helping students, particularly international students, who struggled the way I once did.
While working full-time, I was drawn back to my passion for teaching. I taught a few classes in the evening. It took me six years to earn my Doctorate in Business Administration because I was busy with all the opportunities this country had to offer. I did not give up, but it just took me longer. As soon as I earned my doctoral degree, I was offered a job at a small Catholic school called Brescia College in Owensboro, Kentucky. This was the best job so far. I loved teaching and seeing my students transform.
Career advancement as an immigrant
It was not easy to be a young Asian immigrant teacher at a college in Kentucky. While I did not sense explicit discrimination, I felt I had to do extra to prove myself. Yet again, proving myself seemed to be the constant story of my career. My distinct Thai accent was something that consistently worried me. I don’t recall thinking with an accent, however. Regardless, I could make that chapter of my life successful. After nearly 20 years, I remain in touch with several students who still remember me and the knowledge we shared.
My wife missed the warmer weather in San Diego. We moved back in 2006 when I began my career at a larger university in San Diego called National University. My career advancement has accelerated. While the statistic shows that most Americans changed approximately ten jobs during their careers, I counted that I had nearly 30 business cards for all my jobs thus far. Of those 30 jobs, I only applied for 4. The rest were either promotions or someone recruiting me. Hard work paid off. I was in demand. Changing jobs and responsibilities often kept me learning and becoming ready for a higher position.
Being a college president was one of my dream jobs, but it was never my reality. I have been in US higher education for too long to know that a person with my profile could never make it to the top. I had reached all my career milestones—being a director before the age of 30 and vice president before 40—but being a president by 50 was just impossible. I gave up. I settled myself as a vice president and chief of staff at John F. Kennedy University in the Bay Area. That was the ultimate happiness, my peak.
Yet again, I was recruited to work for another not-for-profit organization that allowed me to move back to San Diego. I took this opportunity for family reasons, not knowing it would later lead me to the presidency. I began working as the Chief Academic Officer for the TCS Education System, based in Chicago. This was a big job overseeing academic support for five different colleges. I worked directly with their provosts and/or vice presidents of academic affairs. When these colleges had a turnover in these key positions, I helped with their transition. In 2018, I served as Interim Chief Academic Officer for Pacific Oaks College. I suppose that my assignment was successful. Later that year, Pacific Oaks’ president retired. I was asked to return as the interim president of the college. Dreams do come true when you least expect them. After six months of a temporary assignment, I was named the 11th president of Pacific Oaks College, an institution with nearly 80 years of history. I found my home at Pacific Oaks, where anti-bias education was born and diversity thrives. Pacific Oaks allows me to bring my best as an immigrant from Thailand.
An advocate for other Thais and minorities
Aligned with Pacific Oaks’ core values, I believe in diversity, inclusion, social justice, and respect. The college has brought out the best in me and challenged me to do more for minority students, staff, and faculty.
The lack of representation among minorities has made it difficult for me to advance professionally throughout my career. It was discouraging at times. Now that I’m in a place where I can influence more Thais and other minorities to thrive and make a bigger impact, I commit myself to motivating them to realize their highest potential. I firmly believe that education will prepare everyone, particularly minorities, to equalize the opportunities that this country has to offer. While we are constantly fighting against racism and biases and will need to do so for generations to come, education will help immigrants and underrepresented individuals be competitive and rise to success.
As Thais, we are known for our kind culture, delicious cuisine, and beautiful traditions. I want Thais to also be known for our strong work ethic, creative minds, and professional competency. Our contribution to the US and the world should be distinct and recognized.
I want to invite other Thais to talk more about the success stories of fellow Thais. While fewer Thais are working in the US compared to other minorities, our successes are not any less. We can’t be the best-kept secret, no matter where we live. We should set an example and lead the way for younger generations to create more success stories of their own. We should dream bigger and make an even more significant impact because we are so proud to be Thai.
——————-
“Our contribution to the US and the world should be distinct and recognized.”
“We should dream big and make an even more significant impact because we are so proud to be Thai.”
ดร. ศราวุฒิ ผดุงถิ่น
อธิการบดีคนที่ 11 ของ Pacific Oaks College, เมือง Pasadena, California
นักการศึกษาที่ต้องการต่อสู้เพื่อความความเท่าเทียมของคนไทยและคนต่างชาติในอเมริกา
วันนี้ SawasdeeUSA ขอแนะนำท่านอธิการบดี ดร. ศราวุฒิ ‘แจ๊ค’ ผดุงถิ่น ของ Pacific Oaks College, สถาบันการศึกษาเก่าแก่ที่เปิดสอนมาเกือบ 80 ปี ด้วยพื้นฐานและปรัชญาการสอนเพื่อความเท่าเทียมของสังคม อาจารย์แจ๊ค เป็นคนไทยที่มาทำงานที่อเมริกา และมีความมุ่งมั่นที่จะพัฒนาการศึกษาเพื่อที่จะสนับสนุนความก้าวหน้าและการยอมรับในความสามารถของนักเรียนต่างชาติในอเมริกา
“เราต้องช่วยกันสนับสนุนความสำเร็จของคนไทย ต้องบอกให้โลกรู้ว่าคนไทยมีความสามารถไม่น้อยกว่าใคร เราต้องช่วยให้เด็กรุ่นใหม่เติบโตและประสบความสำเร็จมากกว่าเรา”
ชีวิตก่อนย้ายมาอยู่อเมริกา
ผมเกิดที่ลพบุรี และเติบโตที่กรุงเทพ แต่เนื่องจากพ่อของผมเคยเป็นผู้อำนวยการการประปาส่วนภูมิภาค และจะต้องมีการย้ายไปตามต่างจังหวัดหลายแห่ง ผมเลยก็มีโอกาสได้ย้ายตามพ่อเมื่อตอนที่ยังเป็นเด็ก ย้ายหลายโรงเรียนก็ได้เจอเพื่อนใหม่ๆ เยอะดี อยู่ต่างจังหวัดสนุกมาครับ ได้เรียนภาษาถิ่นหลายภาษา ทุกวันนี้ผมยังพูดภาษาอีสานได้ดีถึงแม้ว่าเคยไปอยู่ที่อุบลแค่เพียงปีเดียว ส่วนแม่ของผมมีหน้าที่สำคัญที่สุดในบ้านครับ เป็นแม่เต็มตัว เป็นแม่ตัวอย่าง เป็นครูคนแรก ที่สำคัญเป็นคนที่สร้างพื้นฐานที่ดีให้ลูกๆ ทั้งสามคน
ถึงแม้ว่าผมชอบที่จะเรียนภาษาท้องถิ่นมาก ไม่ว่าจะอู้กำเมือง หรือเว้าอีสาน แต่ผมกลับไม่ชอบเรียนภาษาอังกฤษเลย ผมไม่รู้ว่ามันเป็นเพราะการที่ผมต้องเปลี่ยนโรงเรียนบ่อยๆหรือเปล่าหรือเป็นเพราะการที่ผมต้องเรียนภาษาอังกฤษกับคุณครูหลายท่านที่มีวิธีการสอนที่แตกต่างกัน สมัยก่อนยังไม่มีอินเตอร์เน็ตเหมือนสมัยนี้ ผมไม่มีโอกาสเรียนภาษาจากสื่อต่างประเทศเหมือนเด็กสมัยนี้ ตอนเด็กๆผมรู้สึกสับสนกับการเรียนภาษาอังกฤษ และมันทำให้ผมสูญเสียความมั่นใจ ซึ่งสิ่งนี่เองที่เป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้ผมเริ่มเกลียดภาษาอังกฤษ ผลที่ตามมาคือผมสอบเอ็นทรานช์ไม่ติดเพราะคะแนนภาษาอังกฤษต่ำมาก ผมเลยอดเข้าเรียนที่คณะสถาปัตย์ ตามที่ผมได้ฝันเอาไว้ ผิดหวังมากครับตอนนั้น แต่ก็ตั้งใจจะลุกขึ้นยืนใหม่และสู้ต่ออีกครับ ผมตัดสินใจเปลี่ยนทิศทางชีวิตด้วยการเข้าไปเรียนทางด้านบริหารธุรกิจที่มหาวิทยาลัยรามคำแหง ใช้เวลาเรียนไม่ถึง 3 ปี ก็จบปริญญาตรี ด้านการเงิน ได้เกียรตินิยมด้วยนะครับ หายเศร้าจากการเอ็นท์ไม่ติดไปได้หน่อยครับ
ความลำบากตอนมาเรียนอเมริกาครั้งแรก
ถึงแม้จะเรียนจบด้วยเกียรตินิยม ผมก็ยังมีปมในใจว่าจะต้องพิสูจน์ความสามารถของตัวเอง ผมยังอยากที่จะพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษของผมให้ดีขึ้น ตอนนั้นก็เลยตัดสินใจมาเรียนต่อที่อเมริกา ตอนมาใหม่ๆ ลำบากมากครับ พูดไม่ได้อ่านไม่ออก อยากกลับบ้านมากๆ ทักษะทางภาษาแย่แบบสื่อสารกับใครไม่ได้เลย จำได้ดีเลยว่า ผมเคยเข้าเรียนแล้วไม่รู้ว่าอาจารย์สั่งให้ทำการบ้าน อาทิตย์ถัดไปเพื่อนทุกคนมีการบ้านมาส่ง แต่ผมไม่มี เพราะไม่รู้จริงๆ ว่าอาจารย์สั่งให้ทำอะไร ถึงแม้ว่าผมจะสามารถจบปริญญาตรีด้วยเกียรตินิยม แต่ผมกลับไม่สามารถอธิบายหลักการง่ายๆ ของอุปสงค์-อุปทานเป็นภาษาอังกฤษได้เลยครับ อายมากๆ กว่าจะปรับตัวได้ก็ใช้เวลาหลายเดือน เรื่องน่าอายสมัยเรียนที่เป็นผลมากจาก พื้นฐานภาษาอังกฤษที่ไม่ดียังมีอีกมากเลยครับ เล่าได้ไม่จบจริงๆ
ปริญญาจากอเมริกาและการทำงานในเมืองไทย
หลังจากกระเสือกกระสนอยู่ 2 ปี ผมจบก็เรียนจบปริญญาโทด้านบริหารธุรกิจ (MBA) ด้านการจัดการธุรกิจระหว่างประเทศ จาก University of Dallas ในรัฐแท็กซัส ตอนปี 2537 จบแล้วก็ย้ายกลับมาอยู่ที่ประเทศไทยได้ประมาณ 2 ปี ตอนกลับมาเมืองไทยใหม่ๆ มั่นใจมาก ปริญญาก็มี ภาษาก็ได้ ผมลุยงานทุกประเภทที่ทำได้ ทำงานหลายอย่างมาก จำได้ว่าเคยทำงาน 7 อย่างในช่วงเวลาเดียวกัน งานประจำก็คือเป็นผู้ระสานงานให้กับโครงการร่วมทุนระหว่างประเทศ สองสามโครงการ เวลาว่างจากงานประจำผมก็สอนหนังสือในมหาวิทยาลัยที่กรุงเทพหลายแห่ง นอกจากนั้นยังรับงานแปลภาษา และพากษ์เสียงในวิดีโอโฆษณาของอเมริกา มีงานอ่านโฆษณาตามวิทยุ ตอนนั้นมีงานแปลหนังสือของ McGraw Hill อีกสามเล่ม แถมยังได้เปิดร้านอาหารเล็กๆ กับภรรยาคนเกาหลีที่หลงไหลในรสชาติของส้มตำไทยมากๆครับ ตอนนั้นงกมากทำทุกอย่าง ไม่ได้งกเงินนะครับแต่งกโอกาสจากคนที่ไม่ชอบภาษาอังกฤษเลย กลายมาเป็นนักแปลที่ทำงานกับภาษาอังกฤษเป็นหลักและผมทำงานหนักแบบนี้เป็นเวลาประมาณ 2 ปี ก่อนที่จะตัดสินใจกลับมาที่อเมริกา เพื่อเรียนต่อในระดับปริญญาเอก
ตอนที่ผมเป็นอาจารย์สอนอยู่ที่กรุงเทพ ผมได้มีโอกาสได้เรียนเกี่ยวกับทฤษฎีการจัดการเชิงกลยุทธ์ และได้รู้จักกับ Dr. Igor Ansoff ผู้ที่ถือว่าเป็นบิดาของการจัดการเชิงกลยุทธ์ผมรู้สึกชื่นชมท่านมาก นิยมท่านทางด้านทฤษฎีและแนวคิด อ่านหนังสือของท่านหลายเล่มถือได้ว่าเป็นแฟนพันธุ์แท้ของท่าน ในที่สุดก็ตัดสินใจสมัครเรียนปริญญาเอกในมหาวิทยาลัยที่ท่านสอน ชื่อ United States International University มันเป็นการตัดสินใจที่ดีมาก และมันทำให้ชีวิตผมเปลี่ยนไปมากเลยครับ
การกลับมาเรียนและตั้งรกรากทีอเมริกา – ปัญหาและอุปสรรค
ผมจำได้ว่าในช่วงปี 2537 เป็นช่วงวิกฤติทางการเงินของประเทศในแถบเอเชีย ขณะที่ผมกำลังเดินทางจากกรุงเทพมาที่ซานดิเอโก ค่าเงินบาทก็ดิ่งลงมาเกือบครึ่งในภายชั่วข้ามคืน ก่อนที่เครื่องจะลงจอดที่อเมริกา เงินที่ก้อนที่เตรียมมาเรียนหนังสือตอนนั้นสรุปว่าไม่พอ ผมคิดหนักมาก ว่าจะกลับกรุงเทพหรือจะอยู่ต่อ รอตายเอาดาบหน้า สุดท้ายผมเลือกทางที่จะอยู่ต่อครับ จริงๆ ก็ถือว่าโชคดีที่ตอนนั้นรัฐบาลสหรัฐอนุญาติให้นักเรียนจากเอเชียสามารถเพิ่มชั่วโมงการทำงานในมหาวิทยาลัยได้ ผมก็เลยได้ทำงานพาร์ทไทม์ถึง 2-3 งาน เพื่อหาค่าเทอมและรายได้เสริมให้กับครอบครัว ทำงานงกๆ อีกแล้ว แต่ครั้งนี้ทำเพื่อความอยู่รอดเคยทำงานในโรงอาหารของมหาวิทยาลัยด้วยนะครับ เก็บจาน ล้างจานก็ทำมาแล้ว ทำงานไปก็มีน้ำตาซึมคิดถึงงานเก่าที่กรุงเทพที่ดูเหมือนจะมีอนาคตมากกว่า แต่ก็ทนทำจนมีโอกาสดีๆ เข้ามาในที่สุด ช่วงนั้นบังเอิญมากมหาวิทยาลัยประกาศหาที่ปรึกษานักเรียน ผมก็สมัครแล้วก็ได้งานอย่างที่หวัง นี่แหละคือจุดพลิกผันจุดสำคัญครั้งใหญ่อีกครั้ง เนื่องจากได้งานประจำที่มหาวิทยาลัย สวัสดิการที่ได้ก็คือได้เรียนฟรี ไม่ต้องเสียค่าเทอมอีกต่อไป ผมชอบงานนี้มากๆ และตั้งใจทำงานสุดๆ ทำแบบเกินร้อย เจ้านายก็แฮปปี้มาก จากที่ปรึกษาของนักเรียนก็ได้เลื่อนตำแหน่งเป็นผู้อำนวยการหลักสูตรการศึกษาต่อเนื่อง สนุกกับงานมากจนเกือบลืมเรียนมีความสุขมากในการทำงาน มีความสุขที่ได้ช่วยเหลือนักเรียน โดยเฉพาะอย่างยิ่งนักเรียนต่างชาติที่ประสบปัญหาแบบเดียวกับที่ผมได้พบเจอมา
ในขณะที่ผมได้ทำงานประจำ ผมก็มีโอกาสกลับมาสอนอีกครั้ง เพราะนิสัยงกโอกาสเหมือนเดิม พอได้กลับมาสอนใหม่วิญญาญครูก็พุ่งพล่านแบบหยุดไม่อยู่ ตอนนั้นบ้าทั้งงานประจำ บ้าทั้งงานสอน เกือบลืมไปว่าที่มาอเมริกาครั้งนี้จะมาเรียนปริญญาเอก ผมใช้เวลา 6 ปีกว่าถึงจะเรียนจบ นานกว่าชาวบ้านประมาณ 2 ปี แต่ก็คุ้มครับกับโอกาสที่ได้ทำงานและได้สอนหนังสือที่อเมริกา จบช้าดีกว่าไม่จบ ตอนนั้นคิดแบบนั้นจริงๆ หลังจากรับปริญญาก็สมัครงานเป็นอาจารย์ประจำอยู่หลายที่ ในที่สุดได้เข้าทำงานที่ Brescia College, อยู่ในเมืองเล็กๆ ชื่อ Owensboro ในรัฐเคนตักกี้ เรียนจบแล้วก็ได้งานในฝัน ได้เป็นอาจารย์เลยครับ ชีวิตดี้ดี งานสอนเป็นงานที่ผมรักมากๆ และมีความสุขมากๆ ที่ได้เห็นนักเรียนเรียนรู้และประสบความสำเร็จในชีวิต
ความก้าวหน้าในอาชีพแบบคนต่างด้าวในอเมริกา
เป็นอาจารย์ในมหาวิทยาลัยในอเมริกาไม่ง่ายนะครับ ตอนนั้นผมยังอายุน้อย ประสบการณ์สอนก็น้อย เนื่องจากผมเป็นคนต่างชาติและนักศึกษาเกือบทั้งหมดเป็นอเมริกัน นักเรียนก็จะมีการลองภูมิของครูใหม่กันบ้าง การเป็นอาจารย์ต่างชาติต้องพิสูจน์เยอะหน่อย ถึงแม้ภาษาอังกฤษจะดีขึ้นมากสามารถเขียนหนังสือได้เป็นพันๆหน้า เวลาพูดก็ยังมีสำเนียงไทยออกมาบ้าง ผมไม่ใช่ฝรั่งยังไงก็ยังพูดไม่เหมือนเจ้าของภาษา สำเนียงไทยของผมก็เป็นปมของตัวผมเองมาก แปลกนะครับตอนผมคิดอะไรในหัวก็คิดเหมือนคนปกติไม่ได้คิดแบบมีแอ็กเช่นสักนิด แต่เวลาพูดออกมาก ก็มีความโป็ะแตกบ้างเป็นครั้งคราว (ภาษาไทยทันสมัยมาก) โอเค โอเค สอนดีแต่มีแอ็กเช่นไทยบ้างก็รอดมาได้ ต้องถือว่าช่วงนั้นตัวเองประสบความสำเร็จมาก เป็นที่รักของลูกศิษย์และเพื่อนร่วมงาน 20 ปีผ่านไป ผมก็ติดต่อกับนักเรียนที่ผมเคยสอน พวกนี้ยังจำผมได้ ยังขอบคุณและรำลึกถึงความหลังกันอยู่บ่อยๆ
เป็นอาจารย์ได้อยู่สองปี ภรรยาก็อยากย้ายกลับมาอยู่ซานดิเอโก้ อยากอยู่ในเมืองที่อากาศอบอุ่น เราสองคนขนของย้ายกลับมาซานดิเอโก้อีกครั้งในช่วงปี 2540 ผมได้เริ่มต้นงานใหม่ที่มหาวิทยาลัยขนาดใหญ่ในเมืองซานดิเอโก้ ที่ชื่อว่า National University ย้ายกลับมาครั้งนี้ไม่ได้สอนแล้วครับ แต่ทำงานด้านบริหาร สนุกไปอีกแบบ เริ่มไต่เต้าตำแหน่งทางบริหารที่สูงขี้นเรื่อยๆ ผมเคยอ่านบทความอันหนึ่งที่เขียนไว้ว่าคนอเมริกันเปลี่ยนงานค่อนข้างบ่อย โดยเฉลี่ยเปลี่ยนกันประมาณ 10 งานก่อนจะเกษียณ เมื่อปลายปีก่อนผมนับดูนามบัตรของตัวเองที่เคยใช้มา ตกใจว่าตัวเองเคยเปลี่ยนงานมาเกือบ 30 งาน นี่ยังไม่ใกล้วัยเกษียณเลย ไม่ได้เป็นคนเหยียบขึ้ไก่ไม่ฝ่อหรือชอบเปลี่ยนงานนะครับ ผมเองเคยสมัครงานเพียงแค่ 4 งานในช่วง 30 ปีทีอยู่อเมริกา งานที่เปลี่ยนไปส่วนมากเป็นการเลื่อนตำแหน่ง บางงานที่ไม่ได้สมัครก็มีผู้ใหญ่ใจดีหยิบยื่นมาให้ เพิ่งเข้าใจว่าถ้าเราทำงานแบบทุ่มสุดตัว ผลดีมันกลับมาหาเราแบบที่ไม่ต้องไปแสวงหา การลงทุนกับการทำงานนี่มันคุ้มจริงๆ มันทำให้เราเป็นที่ต้องการขององค์กร การเปลี่ยนงานและหน้าที่บ่อยๆ ทำให้ผมได้เรียนรู้สิ่งต่างๆมากมาย และมันก็เป็นการเตรียมตัวให้ผมเวลาเลื่อนขั้นไปสู่ตำแหน่งที่สูงขึ้น
การได้เป็นอธิการบดีถือเป็นหนึ่งในความฝันของผม แต่ก็อดคิดไม่ได้ว่านั่นคือการฝันกลางวันหรือเปล่า ผมทำงานในอเมริกามานานมาก นานจนรู้ว่าความฝันแบบนี้คงเป็นจริงไปไม่ได้ ทุกงานที่ทำมาหลายสิบปีในรั้วมหาวิทยาลัย มองดูเพื่อนร่วมงานที่เป็นหัวดำที่เป็นคนต่างชาติแล้วมันก็เหงาๆอยู่ หายากมาก ยิ่งถ้าตำแหน่งสูงขึ้นไป ความเหงายิ่งมาก ตอนที่ได้มาเป็นรองอธิการใหม่ๆ มองไม่เห็นคนเอเชียในกลุ่มผู้บริหารเลย ไม่มีแบบอย่างอะไรที่เราจะเรียนรู้ได้คนเอเชียที่จะให้มาเป็นต้นแบบยังหายาก คนไทยไม่ต้องคิดเลย หาไม่ได้เลย ไม่ใช่เพราะเราไม่เก่งนะครับ แต่เราก็ไทยป็นประเทศเล็กๆ ที่ไม่มีประชากรที่ย้ายมาอยู่อเมริกามาก คนที่มาย้ายอยู่ก็มีอาชีพที่หลากหลาย สอนหนังสือหรือทำงานมหาวิทยาลัยอาจเป็นงานที่ไม่ได้รับความนิยม
แผนการทำงานและชีวิตงานของผมไม่ราบรื่นอย่างที่ผมอยากให้มันเป็น พอก้าวหน้าไปได้ระดับหนึ่งความฝันก็หยุดชะงักลง ผมเคยวางแผนไว้ว่าอยากเป็น ผู้อำนวนการก่อนอายุ 30 อยากเป็นรองอธิการบดีก่อนอายุ 40 แล้วก่อน 50 เนี่ยก็ควรจะต้องเป็นอธิการบดีได้แล้ว ทำงานอย่างหนักเพื่อสร้างฝัน สุดท้ายก็เริ่มเข้าใจว่าฝันอาจไม่เป็นจริงเมื่อตอนอายุ 40 กลางๆ ตอนนั้นมันหมดหวังจริงๆ เราทำงานหนัก แต่เราก็ไม่เคยเห็นอธิการคนไหนที่เป็นคนแบบเรา เป็นคนต่างชาติ เป็นคนที่มีสำเนียงต่างชาติ เป็นคนไทย ในที่สุดก็ทำใจได้ ยอมรับชะตากรรม ไม่ต้องเป็นอธิการก็ได้ เป็นรองอธิการก็พอแล้ว ผมยอม ชึ่งตำแหน่งที่ทำในตอนนี้เป็นตำแหน่งรองอธิการบดีให้กับ John F. Kennedy University ที่อยู่ไม่ไกลจากชานฟราน หลังจากทำใจและยอมรับข้อจำกัดของตัวเองได้ ก็กลับไปสนุกกับงานอีกครั้ง ทำงานเป็นบ้าเป็นหลังเหมือนเดิม ภูมิใจมากกับอาชีพและความสำเร็จที่มี แฮปปี้มาก อยากทำงานนี้ไปจนเกษียณ แต่ทำไปได้เกือบ 2 ปี เจ้านายเก่าคนหนึ่งดึงตัวให้มาทำงานอีกที่ ตอนแรกผมปฏิเสธ แต่สุดท้ายก็ตัดสินใจว่าจะรับตำแหน่งใหม่อีกครั้ง ครั้งนี้ภรรยาเชียร์มากเพราะจะได้ย้ายกลับมาอยู่เมืองซานดิเอโก้อีก ภรรยาอยากอยู่เมืองนี้ ผมต้องตามใจ โดยที่ไม่คิดมาก่อนเลยว่า นี่คือโอกาสที่จะนำผมไปสู่ตำแหน่งอธิการบดีในที่สุด ผมเริ่มต้นใหม่อีกครั้งในตำแหน่งรองอธิการบดีฝ่ายวิชาการที่ TCS Education System ชึ่งมีสำนักงานใหญ่อยู่ที่ชิคาโก้ ผมทำงานที่สาขาย่อยที่เมืองซานดิเอโก้ งานนี้เป็นงานที่สำคัญมากเพราะต้องดูแลมหาวิทยาลัยในเครือทั้งหมด 5 แห่งด้วยกัน เนื่องจากผมต้องรับผิดชอบทางด้านวิชาการโดยรวม เวลาที่มหาวิทยาลัยในเครือมีการเปลื่ยนแปลงผู้บริหารฝ่ายวิชาการ ผมก็จะเข้ามาช่วยประสานงานเพื่อให้โครงการทางวิชาการของมหาวิทยาลัยมีความต่อเนื่อง ตอนปี 2562 รองอธิการของ Pacific Oaks College, ลาออก ผมก็เข้ามารักษาการแทนในระยะสั้น หลังจากมีการแต่งตั้งรองอธิการคนใหม่ผมก็กลับไปทำงานเดิม แฮปปี้เหมือนเดิม
แต่เหมือนฟ้าเป็นใจครับ ปีถัดมาอธิการบดีของ Pacific Oaks เกษียณอายุงาน ผมได้รับการเสนอชื่อให้รักษาการแทนอธิการบดี ความฝันมักจะกลายเป็นความจริงในช่วงเวลาที่คุณคาดหวังน้อยที่สุด หลังจากทำหน้าที่แทนอธิการบดีได้ประมาณ 6 เดือน ผมก็ได้รับเลือกให้เป็นอธิการบดีคนที่ 11 ของ Pacific Oaks College, ชึ่งเป็นสถาบันการศึกษาที่มีประวัติยาวนาน Pacific Oaks ทำให้ผมรู้สึกว่าผมได้เจอบ้านที่ตามหามานาน ทุกอย่างเป็นสิ่งที่เคยฝันไว้ไม่ว่าจะเป็นปรัญชาการเรียนการสอนและความสำคัญที่มหาวิทยาลัยให้กับนักเรียนและสังคม Pacific Oaks ต่อสู้มากเกือบ 80 ปีเพื่อความเท่าเทียมทางสังคม ตอนนี้ผมได้เป็นส่วนหนึ่งของมหาวิทยาลัยที่มีความหมายกับผมมากๆ
นักการศึกษาที่ต่อสู้เพื่อความเท่าเทียม
อุดมคติส่วนตัวของผมสอดคล้องกับแนวทางความคิดและการปฎิบัติของ Pacific Oaks มาก ผมเชื่อในความยุติธรรมทางสังคม ความหลากหลายของชนชั้นและเชื้อชาติ การอยู่ร่วมกันแบบสันติ และความเคารพชื่งกันและกัน Pacific Oaks ดึงเอาสิ่งที่ดีที่สุดในตัวผมออกมาและท้าทายให้ผมอุทิศตัวเองมากขึ้นเพื่อนักเรียน บุคลากร และคณาจารย์
การขาดตัวแทนของชนกลุ่มน้อยหรือคนต่างชาติในองค์กรที่ผมเคยทำงาน ทำให้ความก้าวหน้าในมหาวิทยาลัยของผมมีอุปสรรคมาตลอด บางครั้งมันทำให้ผมถอดใจท้อใจ แต่ตอนนี้ผมอยู่ในจุดที่สามารถสนับสนุนชักจูงคนไทยและคนต่างชาติอื่นๆ ให้เติบโตก้าวหน้า เพื่อที่พวกเขาจะทำประโยชน์ให้สังคมได้เพิ่มมากขึ้น ผมมุ่งมั่นที่จะกระตุ้นให้พวกเขาตระหนักถึงศักยภาพสูงสุดของตัวเอง ผมเชื่อมั่นว่าการศึกษาจะเตรียมตัวให้ทุกคนโดยเฉพาะคนต่างชาติในอเมริกาให้ได้รับโอกาสที่ประเทศนี้มีให้พวกเขา ในขณะที่เรากำลังต่อสู้กับการเหยียดเชื้อชาติและอคติที่มีต่อคนต่างชาติที่มีอยู่ทั่วไป เราจำเป็นต้องพัฒนาสังคมให้คนรุ่นต่อๆ ไป การศึกษาจะช่วยให้ผู้อพยพและบุคคลที่ด้อยโอกาสสามารถแข่งขันและก้าวไปสู่ความสำเร็จได้
คนไทยและเมืองไทยเป็นที่รู้จักในด้านวัฒนธรรมอันดีงาม อาหารอร่อย และประเพณีที่งดงาม ผมอยากให้คนไทยเป็นที่รู้จักในเรื่องของความอุตสาหะในการทำงาน ความคิดสร้างสรรค์ และความสามารถในระดับมืออาชีพ คนไทยก็เป็นผู้สร้างความก้าวหน้าและความสำเร็จสำคัญๆให้กับประเทศสหรัฐอเมริกาเหมือนกัน เราต้องช่วยกันสนับสนุนความสำเร็จของคนไทย ต้องบอกให้โลกรู้ว่าคนไทยมีความสามารถไม่น้อยกว่าใคร เราต้องช่วยให้เด็กรุ่นใหม่เติบโตและประสบความสำเร็จมากกว่าเรา ผมอยากเชิญชวนให้คนไทยคนอื่นๆ พูดคุยเกี่ยวกับเรื่องราวความสำเร็จของเพื่อนคนไทยด้วยกันให้มากขึ้น แม้ว่าจำนวนคนไทยที่ทำงานในสหรัฐอเมริกาจะมีไม่มากเมื่อเทียบกับคนชาติอื่น ๆ แต่ความสำเร็จของเราก็ไม่น้อยหน้าใคร เราไม่ควรที่จะอยู่ไต้เงาความสำเร็จของคนอื่น ไม่ว่าเราจะอยู่ที่ไหนในโลกก็ตาม เราควรเป็นตัวอย่างและเป็นแนวทางให้คนรุ่นใหม่เพื่อที่พวกเขาจะได้สร้างความสำเร็จให้กับพวกเขาเองและคนรุ่นต่อๆ ไป การสร้างสังคมที่ดีขึ้นอาจจะใช้เวลานาน ที่สำคัญเราต้องสร้างบุคลากรที่มีคุณภาพ เราควรฝันให้ไกลแล้วไปให้ถึงเราต้องสร้างเกียรติประวัติให้กับตัวเองและสังคมเพราะพวกเราเป็นคนไทยที่ภูมิใจที่จะเป็นคนไทย